ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

เรื่องขำขำ ในหลวงของเรา






     ระยะแรกราวปี พ.ศ.2498 เป็น ต้นมา คราใดที่เสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานไปประทับ ณ พระราชวังไกลกังวลนั้น จะทรงขับรถยนต์พระที่นั่งไปยังท้องที่ห่างไกลทุรกันดารย่านหัวหิน หนองพลับแก่งกระจานด้วยพระองค์เอง ทำนองเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ห้า โดยที่ราษฎรไม่รู้ตัวล่วงหน้าว่า
ทรงมาถึงแล้ว
     วันหนึ่งทรงขับรถยนต์พระที่นั่งผ่านไปถึงยังบริเวณหมู่บ้านแห่งหนึ่งย่านหมู่บ้านห้วยมงคล อำเภอหัวหิน ซึ่งราษฎรกำลังช่วยกันตบแต่งประดับซุ้มรับเสด็จกันอย่างสนุกสนานครื้นเครง และไม่คาดคิดว่าเป็นรถยนต์พระที่นั่งส่วนพระองค์
     "วันนี้ห้ามลอดผ่านซุ้มนี้ เพราะขอให้ในหลวงผ่านก่อนนะ.. "
     ทรงขับรถพระที่นั่งเบี่ยงข้างทางไม่ลอดซุ้มดังกล่าว
     วันรุ่งขึ้นเมื่อทรงขับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในหมู่บ้านนี้อย่างเป็นทางการพร้อมคณะข้าราชบริพารผู้ติดตามและ ทรงมีพระดำรัสทักทายกับชายผู้นั้นที่เฝ้าอยู่หน้าซุ้มเมื่อวันวานว่า
     "วันนี้ฉันเป็นในหลวง..คงผ่านซุ้มนี้ได้แล้วนะ.."


     มีเรื่องนึงเคยฟังจากผู้ใหญ่เล่าเมื่อนานมาแล้ว มีช่างไปทำฝ้าเพดานในวังคนนึงกำลังยืนบนบันได ส่วนหัวอยู่ใต้ฝ้า อีกคนคอยจับบันไดอยู่ด้านล่าง พอดีในหลวงเสด็จมา คนที่อยู่ข้างล่างเห็นในหลวงก็ก้มลงกราบ คนอยู่ด้านบนไม่เห็น ก็บอกว่า
      "เฮ้ย จับดีๆ หน่อยสิ อย่าให้แกว่ง"
      ในหลวงทรงจับบันไดให้ เค้าก็บอกว่า
      "เออ ดีๆ เสร็จงานนี้จะให้เป็นช่างจริง"
(สงสัยคงจะเพิ่งเข้ามาทำงานยังไม่ผ่านโปร) พอเสร็จก็ก้าวลง พอเห็นว่าในหลวงเป็นคนจับบันไดให้ ถึงกับเข่าอ่อน จะตกบันไดรีบลงมาก้มกราบ ในหลวงทรงตรัสกับช่างว่า
     "แหม ดีนะที่ชมว่าใช้ได้ แถมจะปรับตำแหน่งให้เป็นช่างอีกด้วย"


เหตุการณ์เมื่อปี 2513
     วันนั้นท่านทรงเสด็จไปหมู่บ้านท้ายดอยจอมหด พร้าว เชียงใหม่ ผู้ใหญ่บ้านลีซอกราบทูลชวนให้ไปแอ่วบ้านเฮา ท่านก็ทรงเสด็จ ตามเขาเข้าไปบ้านซึ่งทำด้วยไม้ไผ่และมุงหญ้าแห้ง เขาเอาที่นอนมาปูสำหรับประทับ แล้วรินเหล้าทำเองใส่ถ้วยที่ไม่ค่อยจะได้ล้างจนมีคราบดำๆ จับ ทางผู้ติดตามรู้สึกเป็นห่วง เพราะปกติไม่ทรงใช้ถ้วยมีคราบ จึงกระซิบทูลว่า ควรจะทรงทำท่าเสวย แล้วส่งถ้วยมาพระราชทานผู้ติดตามจัดการเอง  แต่ท่านก็ทรงดวดเอง กร้อบเดียวเกลี้ยง ตอนหลังทรงรับสั่งว่า
     "ไม่เป็นไร แอลกอฮอล์เข้มข้นเชื้อโรคตายหมด"


     เคยมีคนเล่าให้ฟังว่า ครั้งหนึ่งพ่อหลวงทรงเสด็จไปทีตลาดสด ทรงแวะไปเสวยก๋วยเตี๋ยว แม่ค้าขายก๋วยเตี๋ยว เห็นก็สงสัย จึงทูลถามท่านว่า
     "ทำไมหน้า เหมือนในหลวงจัง?"
     ท่านไม่ตอบอะไรได้แต่ยิ้มๆ ทรงจ่ายเงินค่าก๋วยเตี๋ยวแล้วตรัสชมว่า ก๋วยเตี๋ยวอร่อย ส่วนแม่ค้ามารู้ที่หลังว่าเป็นท่านก็ได้แต่ปลื้ม


ผู้หญิงตกเป็นของใคร
      บางครั้ง ในหลวงของเราก็ต้องทรงทำหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับปัญหาครอบครัว เช่น ชาวเขาคนหนึ่งได้มากราบบังคมทูลร้องทุกข์ว่า เขาได้ให้หมูสองตัวกับเงินก้อนหนึ่งแก่เมีย แต่เมียพอได้เงินแล้วกลับหนีตามชู้ไป พระองค์ก็ทรงตัดสินว่า สามีจะต้องได้รับเงินชดใช้ และให้ปล่อยภรรยาไปตามใจของเธอ ญาติของทั้งสองฝ่ายก็พอใจ รับสั่งเล่าด้วยพระราชอารมณ์ขันว่า
     “แต่ที่แย่ก็คือ ฉันต้องควักเงินให้ไป… ผู้หญิงนั้นก็เลยต้องตกเป็นของฉัน”
      รับสั่งแล้วก็ทรงพระสรวล สักครู่หนึ่ง หญิงผู้นั้นก็นำสุราพื้นเมืองมาถวาย
      “ถ้าฉันเมาพับไป อะไรจะเกิดขึ้น ก็ไม่รู้…”


สามร้อยตุ่ม
     มีหลายหนที่ทรงงานติดพันจนมืดสนิท ท่ามกลางฝูงยุงที่รุมตอมเข้ามากัดบริเวณพระวรกาย รอบพระศอ พระกร พระพักตร์ รวมทั้งแมลงตาง ๆ ที่เข้ามารุมรบกวนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะยังทรงทอดพระเนตรแผนที่อยู่ภายใต้แสงไฟฉายที่มีผ้ส่องถวายอยางไม่สะดุ้นสะเทือน อย่างมากที่ทรงทำคือโบกพระหัตถ์ปัดไล่เบา ๆ เท่านั้น ครั้งหนึ่งทรงมีรับสั่งเล่าเรื่อง "ยุง" ด้วยพระอารมณ์ขันว่า
     "..ที่บางจาก แต่ไม่มีจากหรอกนะ ยุงชุมมากเลย ไปยืนดูแผนที่เลยโดนยุงรุมกัดขาทั้งสองข้าง กลับมาขาบวมแดง ไปสกลนครกลับมาแล้วถึงได้ยุบลง มองเห็นเป็นตุ่มแตง ลองนับดูได้ข้างละร้อยห้าสิบตุ่ม สองข้างรวมสามร้อยพอดี.."


     พระองค์ท่านเสด็จไปที่จังหวัดสกลนครเพื่อเยี่ยมเยียนชาวบ้านและพระองค์ก็ทรงตรัสถามชายคนหนึ่งที่มาเข้าเฝ้าเพราะแขนเจ็บเข้าเฝือก ในหลวงทรงรับสั่งถามว่า
     "แขนเจ็บไปโดนอะไรมา"
     ชายคนนั้นตอบว่า
     "ตกสะพาน "
     แล้วในหลวงทรบรับสั่งกลับไปอีกว่า
     "แล้วแขนอีกข้างหนึ่งละ"
     ชายคนนั้นก็ตอบกลับมาอีกว่า
     "แขนข้างนี้ไม่ได้ตกลงไปด้วย ตกข้างเดียว"
     ในหลวงของเราก็ทรงพระสรวล


      พระองค์เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมพสกนิกรที่ทางภาคใต้ คือจังหวัดนราธิวาส ทางใต้นี้มีปัญหาเรื่องดินเป็นกรด มีความเค็ม พระองค์จึงทรงรับสั่งถามกับชาวบ้านที่มาเฝ้ารับเสด็จว่า
      "ดินหลังบ้านเป็นอย่างไร เค็มไหม "
      ชาวบ้านก็มองหน้ากันแล้วทำหน้างง ก่อนตอบกลับมาว่า
      "ไม่เคยชิมซักที"
      ในหลวงก็รับทรงสั่งกับข้าราชบริภารที่ ตามเสด็จว่า
      "ชาวบ้านแถวนี้เขามีอารมณ์ขันกันดีนะ"


     ในขณะที่ในหลวงท่านทรงประชวรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง มีข้าราชบริพารเข้าเยี่ยมจำนวนมาก ทุกคนคงจำได้ที่เป็นข่าวใหญ่โตที่นายกฯ(คนนั้นแหล่ะไม่อยากจะเอ่ย)
บังอาจถวายบัตร 30 บาท ให้พระองค์ เพื่อใช้สิทธิ์ สร้างความแค้นเคืองใจให้พสกนิกรชาวไทยทุกคน
แต่ไม่มีใครรู้เบื้องหลังว่าพระองค์ทรงตอบว่าอย่างไร ในหลวงทรงตรัสว่า
     "ไม่เป็นไรหรอก หากข้าพเจ้าไม่สามารถจ่ายค่ารักษาได้ แต่คงสามารถใช้บัตรผู้สูงอายุได้ หรือจะใช้สิทธิข้าราชการของบุตรี (ฟ้าหญิง) ก็ได้"
     ท่านพูดเสียงเรียบ ๆ ไม่ได้รู้สึกว่าถูกลบหลู่เลย พูดเสร็จก็ยื่นบัตรทองใบนั้น ให้นายกที่ไม่รู้จักที่ต่ำที่สูง ฟังแล้วก็อดยิ้มไม่ได้ว่าท่านตอบได้น่ารักมาก


.....เราจับได้แล้ว.....
     ท่านผู้หญิงเกนหลง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา นางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ
     ครั้งหนึ่งในงานนิทรรศการ "ก้าวไกลไทยทำ" วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 The BOI Fair 1995 commemorates the 50th Anniversary of His Majesty King Bhumibol Adulyadej's reign"
(Board of Investment Fair 1995 BOI) หลังจากที่เสด็จพระราชดำเนิน พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตามศาลาการแสดงต่างๆ ก็มาถึงศาลาโซนี่ (อิเล็กทรอนิกส์) ภายในศาลาแต่งเป็น "พิภพใต้ทะเล" โดยใช้เทคนิคใหม่ล่าสุด "Magic Vision" น้ำลึก 20,000 league จะมีช่วงให้แลเห็นสัตว์ทะเลว่ายผ่านไปมา ปลาตัวเล็กๆ สีสวยจะว่ายเข้ามาอยู่ตรงหน้า ข้อสำคัญเขาเขียนป้ายไว้ว่า... ถ้าใครจับปลาได้เขาจะให้เครื่องรับโทรทัศน์ พวกเราไขว่คว้าเท่าไหร่ก็จับ ไม่ได้ เพราะเป็นเพียงแสงเท่านั้น แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสว่า
     "เราจับได้แล้ว" พร้อมทั้งทรงยกกล้องถ่ายรูปชูให้ผู้บรรยายดู แล้วรับสั่งต่อ
     "อยู่ในนี้" ต่อจากนั้นคงไม่ต้องเล่า เพราะเมื่ออัดรูปออกมาก็จะเป็นภาพปลาและจับต้องได้ บริษัทโซนี่จึงต้องน้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องรับโทรทัศน์ตามที่ประกาศไว้...


.....ทุกข์ยามดึก.....
      พลตำรวจตรีสุชาติ เผือกสกนธ์ ผู้อำนวยสำนักงานโครงการพระดาบส อดีตอธิบดีกรมไปรษณีย์โทรเลข ....การที่ได้ทรงพระกรุณารับฟัง และติดต่อทางวิทยุตำรวจเป็นประจำ จึงทรงทราบความลำบาก ความเดือดร้อนของข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อย
      ตำรวจประจำตู้ยามบางคนคับแค้นใจ เกี่ยวกับปัญหาครอบครัว ปัญหาการครองชีพ เมื่อเสพสุราแล้วครองสติไม่ได้ ไม่รู้จะระบายความในใจกับใคร จึงได้พล่ามบรรยายมาทางวิทยุ บางคนหลับยามไม่พอกดคีย์ ไมโครโฟนค้าง ทำให้มีเสียงกรนออกอากาศมาด้วย บางคนตะโกนร้องเพลงลูกทุ่ง ออกอากาศมาเป็นการแก้เหงา ก็มีที่จัดได้ว่าโชคดี คือ ศูนย์ควบคุมข่ายตำรวจแห่งชาติ "ปทุมวัน" กล่าวคือ
      ในยามดึกวันหนึ่ง พนักงานวิทยุคนหนึ่งได้ระบายความเดือดร้อน เนื่องจากหิวโหยไม่สามารถ หาอาหารรับประทานได้เพราะต้องเข้าเวร เมื่อทรงรับฟังแล้วทรงสงสาร จึงได้รับสั่งทางวิทยุกับผู้เขียนในฐานะที่เป็น ผู้บังคับบัญชาของหน่วยงานนั้นโดยตรงว่า
     "โปรดเกล้าฯ พระราชทานตู้เย็นเพื่อ เก็บอาหารสำรอง สำหรับเวรยามดึกให้ 1 ตู้"


ทรงพระนามว่าเกาะช้าง
      ครั้งหนึ่ง พระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนิน ทางทะเล ระหว่างทางผ่านเกาะช้าง ทรงถามข้าราชการท้องถิ่นคนหนึ่งว่า
     “เกาะนั้นชื่ออะไร” ข้าราชการทูลตอบว่า
     “เกาะนั้นทรงพระนามว่า เกาะช้างพะย่ะคะ” ตรัสว่า
     “ถ้างั้นก็เป็นญาติกับฉันน่ะสิ”


ส่งเสี่ยกลับวัง
     เมื่อสมัยก่อนเสด็จแปร พระราชฐานไปยังหัวหิน มักจะเสด็จออกไปยังตลาดหัวหินบ่อยครั้ง และบางครั้งโดยลำพังพระองค์ มีครั้งหนึ่งระหว่างจะ เสด็จกลับ ซาเล้งที่ตลาดทูลถามว่า
     “ไปไหมเสี่ย” ปรากฎว่าเสี่ยพระองค์นี้สนพระทัยก็ตรัสจ้างไปยัง พระราชวังไกลกังวลโดยที่ซาเล้งคนนั้นไม่รู้ นึกว่าเป็น ข้าราชการ แต่พอถึงหน้าพระราชวัง ทหารสั่ง วันทยาวุธ เท่านั้นแหละ ซาเล็งถึงรู้ว่า เสี่ยที่มาส่งน่ะเป็นใคร


เหตุใดทรงไม่โปรดเสวยปลานิล
       พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่โปรดเสวยปลานิล ทุกครั้งที่มีผู้นำปลานิลไปตั้งเครื่องเสวย จะโบกพระหัตถ์ให้ย้ายไปไว้ที่อื่น โดยไม่รับสั่งอะไรเลย จนวันหนึ่งมีผู้กล้าหาญชาญชัยกราบบังคมทูลถามว่า
เพราะเหตุใดจึงไม่โปรดเสวยปลานิล มีรับสั่งว่า
      “ก็เลี้ยงมันมาเหมือนลูก แล้วจะกินมันได้อย่างไร”
      เรื่องนี้มีตำนาน 20 ปีก่อน ราวพุทธศักราช 2524 แรกครั้ง พระจักรพรรดิอากิฮิโต แห่งญี่ปุ่น ยังทรงฐานันดรศักดิ์เป็นมกุฎราชกุมาร ได้ส่งปลานิลทางเครื่องบินจำนวน 100 ตัวมาทูลเกล้าฯ ถวายในหลวง ปรากฏว่า เมื่อเดินทางมาถึงเมืองไทย ปลาตายเกือบหมด เหลือรอดแบบใกล้ตายเพียง 10 ตัว ในหลวงทรงเป็นห่วงเป็นใยปลานิลเหล่านี้ จึงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นำ ไปไว้ในพระที่นั่ง ทรงเลี้ยงอย่างประคบประหงม ให้อาหารด้วยพระองค์เอง จนปลานิลทั้ง 10 ตัวรอดชีวิต แล้วปลานิลทั้ง 10 ตัว ได้สนองพระเดชพระคุณแพร่พันธุ์ไปอีกมากมาย ตามพระราชประสงค์เป็นอาหารคนไทย 62 ล้านคน มาจนถึงทุกวันนี้

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ชมรมรัก คลับมหาสนุก

ชื่อเรื่องภาษาไทย ชื่อเรื่องภาษาญี่ปุ่น ชมรมรัก คลับมหาสนุก ouran koukou host club เรื่อง และ ภาพ Bisco  hatori จำนวนเล่มทั้งหมด 18 สำนักพิมพ์ อ่านจบเมื่อ บงกชคอมมิคส์ 30 กรกฎาคม 2557 เรื่องย่อ            ฮารุฮิ เข้าเรียนในโรงเรียนโอรัง ที่แสนจะไฮโซด้วยทุนเรียนดี เธอใช้ชีวิตนักเรียนมัธยมปลายด้วยการแต่งตัวเป็นนักเรียนชาย     วันหนึ่งระหว่างหามุมสงบ ฮารุฮิเดินหลงเข้าไปในห้องดนตรี 3 ซึ่งเป็นที่ตั้งของ host club ชมรมสุดเว่อร์ของโรงเรียน แถมยังซุ่มซ่ามไปทำแจกันราคา 8 ล้านเยนแตก รุ่นพี่ที่ชมรมจึงบังคับให้ฮารุฮิทำงานชดใช้  ฮารุฮิถูกจับแปลงโฉมเป็นหนุ่มน้อยหน้าสวยกลายเป็นหนึ่งใน Host ของชมรมที่รวบรวมสุดยอดหนุ่มเจ้าเสน่ห์ของโรงเรียน       ฮารุฮิรู้ตัวว่าชอบทามากิ แต่ความสัมพันธ์ไม่คืบหน้าเพราะทามากิมีปมในจิตใจเรื่องครอบครัว สิ่งใดก็ตามที่อาจทำลายครอบครัวที่เขาสร้างขึ้น เจ้าตัวจะปฏิเสธโดยอัตโนมัติ ครอบครัวของทามากิหมายรวมสมาชิกชมรมโฮสท์คลับด้วย ฮิคารุจึงตัดสินใจบอกรักฮารุฮิ ซึ่งเป็นการทำตามความรู้สึกของตัวเองแต่ก็อยากช่วยกระตุ้นให้ทามากิทำความเข้าใจความรู้สึกของตัว

ปฐพีไร้พ่าย

    ชื่อเรื่อง ปฐพีไร้พ่าย เขียน Jiulufeixiang แปล Hongsamut จำนวนหน้า 865 สำนักพิมพ์ Hongsamut version Meb E book อ่านจบ 19 มีนาคม 2561 เรื่องย่อ      สิงอวิ๋นซื้อไก่ที่โดนถอนขนจนเหี้ยนผอมแห้งแรงน้อยมาจากตลาด ไก่ตัวนั้นคือ เสิ่นหลี อ๋องปี้ชางแห่งแดนอสูร นางหนีการแต่งงานเชื่อมสัมพันธ์และพลาดท่าถูกกองทัพที่มาเชิญนางกลับแดนอสูรตามบัญชาของจอมอสูรทำร้ายจนบาดเจ็บ สิงอวิ๋นให้นางกินหมั่นโถวเป็นอาหาร จับเจ้าไก่ไร้ขนอาบน้ำ แถมยังใช้ให้เฝ้าบ้านเหมือนแกล้งกัน เพราะเขารู้ว่าไก่ตัวนี้ไม่ใช้ไก่ธรรมดา เสิ่นหลีจึงพยายามหนีจากเขาทันทีที่ร่างกายแข็งแรงพอแต่ไม่ว่าจะไปที่ไหนก็มักจะโดนจับลงหม้อเป็นไก่ตุ๋น สุดท้ายก็ต้องกลับมาตายรัง และเพราะสิ่งอวิ๋นอยากจะซื้อเนื้อให้เจ้าไก่โง่ของเขากิน ถึงได้เผยความสามารถที่ปกปิดมาตลอดจนผู้อื่นเข้าใจว่าเขาเป็นเทพพยากรณ์จนเรื่องราวเลยเถิดกลายเป็นความขัดแย้งกับองค์รัชทายาท เสิ่นหลีปกป้องชายหนุ่มไว้ได้ก็จริง แต่เมื่อบ้านที่สงบสุขถูกเผาจนวอด แค้นนี้ต้องชำระ สิงอวิ๋นจึงเสนอความช่วยเหลืออ๋องยุ๋ย โอรสที่เกิดจากพระสนมให้ชิงตำแหน่งรัชทายาท เสิ่นหลีใจจริงไม

ยามเมื่อลมพัดหวน

  ชื่อเรื่อง ยามเมื่อลมพัดหวน เขียน วาณิช จรุงกิจอนันต์ จำนวนหน้า 188 สำนักพิมพ์ บูรพาสาส์น (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 2 กันยายน 2536)     เรื่องย่อ      การบูรเหมือนนกในกรงทองของพ่อกับแม่ ผิดกับน้องชายที่ได้ไปเรียนถึงประเทศอังกฤษ แต่ละวันการบูรต้องปวดหัวกับการรับมือผู้ชายที่เข้ามาติดพัน ซึ่งแต่ละคนต่างมีพ่อกับแม่ของเธอคอยถือหางทำให้การบูรไม่สามารถตัดรอนได้ เมื่อความเครียดสะสมมากเข้าหญิงสาวจึงขออนุญาตพ่อและแม่ไปหาน้องชายที่อังกฤษ วันที่การบูรไปถึงพาทีประสบอุบัติเหตุรถชนจนขาหัก ชงจึงอาสาไปรับการบูรให้ แต่พาทีเห็นชงเป็นคนเนื้อหอม เลยโกหกว่าการบูรแต่งงานแล้ว มีลูกสาว 1 คน และเขียนจดหมายฝากชงไปเตี้ยมกับการบูร โดนใส่ไฟว่าชงเป็นเสือผู้หญิง ให้การบูรระวังตัว ชงพาการบูรมาพักที่บ้านพี่อ้วน พี่แสด รุ่นพี่ที่ปารีสซึ่งคุ้นเคยกัน ชงพาการบูรเที่ยวปารีส ตลอดเวลาที่อยู่ด้วยกัน การบูรเห็นว่าชงออกจะสุภาพไม่เหมือนกับที่น้องชายบอกมาในจดหมาย ยิ่งเขาเจ็บตัวเพราะช่วยตามโจรวิ่งราวการบูรจึงหายกลัวชายหนุ่ม ชงเองก็เริ่มหวั่นไหวกับการบูรแบบที่ไม่เคยเกิดกับผู้หญิงคนไหน จนเล่าเรื่องรักครั้งแรกที่ทำให้เ