สำเร็จได้สไตล์คนขี้เกียจ




ชื่อหนังสือ - สำเร็จได้สไตล์คนขี้เกียจ
เขียน - นะโอะยุกิ  ฮนดะ
แปล - สุธาสินี  ขจร
จำนวนหน้า - 147
สำนักพิมพ์ - short cut
อ่านจบเมื่อ - 23 กุมภาพันธ์ 2562


คำโปรยปกหลัง
   
    ว่ากันว่าคนขยันมีจุดอ่อน และคนขี้เกียจก็มีจุดแข็งเช่นกัน นี่คือสุดยอดเคล็ดลับที่จะทำให้คุณมองเห็นจุดแข็งของความขี้เกียจ และรู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการคิดพลิกแพลงเพียงเล็กน้อย แล้วคุณจะประสบความสำเร็จในทุก ๆ เรื่องได้แบบง่าย ๆ สบาย ๆ โดยขี้เกียจได้อย่างเต็มภาคภูมิ


บันทึก...คนอ่าน
   
     หนังสือเล่มสีส้ม อยู่บนชั้นในร้านหนังสือแล้วเด่นอย่าบอกใคร แต่ไม่เคยหยิบเพราะเข้าใจว่าตัวเองไม่ใช่คนขี้เกียจ (จริง จริ๊ง) จนได้มาฟัง podcast mission to the moon ของ คุณรวิช  หาญอุตสาหะ ที่หยิบเอาหนังสือเล่มนี้มาพูดถึงใน padcast ตอนแรก เลยเริ่มสนใจหนังสือเล่มนี้ พอมีโปรลดราคาเลยหยิบเล่มนี้ติดมาด้วย

     อ่านประวัติผู้เขียนเล่มนี้ยังมีอึ้งว่า เพราะเขาเป็นผู้บริหารบริษัทขนาดใหญ่หลายแห่ง นอกจากนั้นยังเป็นนักกีฬามืออาชีพ แถมยังเป็นนักเขียนหนังสือขายดีหลายต่อหลายเล่ม ซึ่งมองจากสายตาคนภายนอกแล้ว คนแบบนี้ต้องเป็นคนขยันแน่ ๆ เพราะเขาทำโน่นนี่เยอะไปหมด แต่เจ้าตัวบอกว่าไม่ได้เป็นคนขยัน แต่เขาสามารถจัดการความขี้เกียจของตัวเองได้ต่างหาก

    แค่หน้าแรกก็โดนเลยจร้า กับกำแพง 3 อย่าง คือ เริ่มต้นไม่สำเร็จ ยืนระยะไม่ได้ เฉื่อยแฉะ  โดยไปเกือบหมดแแล้วแต่อารมณ์ ไม่ถึงขนาดเริ่มต้นไม่สำเร็จ แต่ไม่ค่อยอยากจะเริ่ม พอเริ่มแล้วก็ไปได้เรื่อย ๆ ก่อนที่จะมาชนกับกำแพงที่ 2 กับการทำได้อย่างต่อเนื่อง ขยันบ้างขี้เกียจบ้างเพื่อสะสมพลังงาน แต่หากมีเงื่อนไขให้ต้องบังคับตัวเองให้ต้องทำอย่างต่อเนื่อง ก็จะเข้าสู่ช่วงเฉื่อยแฉะ หรือที่ตัวเองเรียกว่า ช่วงแบตหมด สรุปคนที่คิดว่าตัวเองขยันอย่างเราจริง ๆ แล้วขี้เกียจ ที่ชีวิตยังโอเคเพราะเรายังควบคุมตัวเองได้ แต่ก็รู้สีกเสียดายเวลาช่วง phase แบตหมดเหมือนกัน

   ลองจัดประเภทตัวเองตามหนังสือแล้ว ก็คงอยู่ในกลุ่มคนขี้เกียจที่มีความสามารถ ซึ่งถูกจัดอยู่ในกลุ่มหัวหน้าโครงการ/แม่ทัพ และเป็นคนขี้เกียจ "แบบก้าวหน้า"

   สิ่งที่หนังสือเล่มนี้แนะนำต่างจากเล่มอื่น ๆ ซึ่งอ่านแล้วคิดว่าเหมาะกับตัวเอง ก็อย่างเช่น

หมวด ลองปรับเปลี่ยนความคิด

  • ทำตามลำดับที่นึกขึ้นได้ ไม่ใช่ลำดับความสำคัญ เพราะสิ่งสำคัญ คือ ไม่ว่ายังไงต้อง "ไม่สะสมงาน" - เพราะบางทีเสียเวลาวางแผนไปเยอะ แต่ทำไม่ได้ การค่อย ๆ หยิบงานมาทำไปเรื่อย ๆ ให้เต็มเวลางานโดยไม่วอกแว่กดีกว่า
  • อย่าเป็นคนขยันที่ไร้ความสามารถ - อันนี้จริง ไม่ถามให้ดี ไม่วางแผน ลงมือทำไปแล้วผิด แม่ง...โครตเสียเวลา
  • กระตุ้นตัวเองไม่ให้ติดนิสัยรักสบาย - ทบทวนพฤติกรรมที่คุ้นเคยเกินไป และ เป้าหมายไม่ได้อยู่ที่การยืนระยะแต่อยู่ที่การทำให้เป็นกิจวัตร
  • มาค้นหาศักยภาพของตัวเองกันเถอะ - มาต่อยอดความสามารถที่มองไม่เห็นกันเถอะ
  • คิดเรื่องต่าง ๆ ให้ง่ายเข้าไว้ - อันนี้จริง โดยส่วนตัวเป็นคนคิดเยอะ ยิ่งปล่อยให้ตัวเองคิดนานยิ่งพันกัน สุดท้ายทำไม่ไหว กลับมาที่ความคิดแรกสุดจร้า

 หมวด ลองปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต

  • กำหนดวันเอาไว้จะช่วยให้ลงมือทำได้ง่ายขึ้น
  • ลงทุนกับร่างกายตัวเอง
  • ท่องเที่ยวเพื่อย้อนกลับมามองชีวิตประจำวัน
  • รู้เท่าทัน "เวลาที่ตัวเองมีอยู่
หมวด ลองปรับเปลี่ยนวิธีทำงาน

  • เรียนรู้จากผู้อื่น โดยต้องทำให้ผู้อื่นอยากสอน โดย 1) ตรวจสอบข้อมูลเองในระดับหนึ่ง 2) ทำตัวเป็นไม้อ่อน 3) เป็นผู้ฟังที่ดี
  • คิดจินตนาการถึงตัวเองในอีก 10 ปี ข้างหน้า
  • หาเพื่อนนอกบริษัท 
  • สร้างแรงบีบบังคับที่เรียกว่าเส้นตาย 
  • ทำสมุดบันทึกสำหรับบริหารจัดการตัวเอง
  • ยิ่งเป็นคนขี้เกียจยิ่งต้องเข้าร่วมเวิร์กช็อป - จริง ได้ความรู้มากกว่าแบบนั่งฟัง chill ๆ เยอะ
  • สร้างความรู้สึกว่าได้กำไร
  • เรายังสนุกกับเรื่องที่เราชอบได้ก็เพราะมันเป็นงานอดิเรก - อันนี้เห็นด้วย ยิ่งเราพัฒนาให้มันเป็นงานอดิเรกที่ได้เงินด้วยยิ่งได้กำไร 
  • กระตุ้นให้เติบโตด้วยแรงจูงใจ + ไม่เข้าทีมที่สบาย ๆ 
สรุป 
    หลักสำคัญของหนังสือเล่มนี้ คือ ลดการทำตัวเฉื่อยแฉะ ที่ปล่อยให้เวลาไหลผ่านไปโดยไม่เกิดประโยชน์ ที่เห็นง่าย ๆ ก็อย่างการเฝือกเรื่องชาวบ้านใน Net นี่แหละ เสียเวลาไปครึ่งค่อนคืน หากเอาเวลาไปทำเเรื่องที่ชอบอย่างอ่านยังเกิดผลลัพธ์อะไรบ้าง เช่น กองดองลดลง 

ความคิดเห็น