ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญก็พัฒนางานได้

IMG_1873


ชื่อหนังสือ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญการพัฒนางานได้
เขียน ผศ.เธียรชัย  พันธ์คง
จำนวนหน้า 198
สำนักพิมพ์ postbook
version Meb Ebook
อ่านจบเเมื่อ 28 ตุลาคม 2561


โปรยปกหน้า

    สุดยอดเคล็ดลับเพิ้อปรับปรุง “กระบวนการทำงาน” ในทุกระดับและทุกสายอาชีพ ลดขั้นตอน ขจัดความผิดพลาด เสริมด้วยไอเดียริเริ่มสร้างสรรค์สำหรับผู้ที่กำลังแสวงหสความก้าวหน้าให้ตนเองทุกคน


บันทึก…คนอ่าน

   ช่วงกำลังหาไอเดียพัฒนางานเพื่อทำตำแหน่งชำนาญการแต่ยังไม่รู้จะทำเรื่องอะไรดี เลยกดหนังสือมาหลายเล่มไว้อ่านเป็นไอเดีย ตัดสินใจกดจากชื่อเรื่องโดยที่ไม่ได้ทดลองอ่านเนื้อหาก่อน แล้วเราก็ได้มาเจอกับแนวคิดที่คุ้นเคยเมื่อสมัยทำงานโรงงานอาหารแช่แข็งตอนจบใหม่ ๆ ซึ่งเป็นที่นิยมในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น Kaizen นั่นเอง ถึงแม้เราจะคุ้นเคยกับการเอาไปใช้ในการพัฒนางานในกระบวนการผลิตเพื่อลดเวลา ลดcost ฯลฯ อ่านแล้วยิ่งนึกถึงความหลัง ในแง่ของการกระตุ้นให้เห็นถึงประโยชน์ในการพัฒนางานโดยใช้หลัก Kaizen ก็ถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ แต่วิธีในการนำเสนอของเล่มนี้ เหมือนรวมเอาความเรียงสั้น ๆ ภายใต้หัวข้อเดียวกัน มาจัดเรียง บางความเรียงก็พูดถึงแนวคิด บางอันยกตัวอย่าง เลยรู้สึกถึงความไม่ต่อเนื่องของเนื้อหา อาศัยวงข้อความที่ชอบแล้วมาเรียงร้อยกันอีกที


แนวคิดจากหนังสือ

เคล็ดไม่ลับ 2 ข้อ ที่จะทำให้คุณเก่งในงาน คือ

  1. รู้กระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นจนจบ อันได้แก่การคลี่ขั้นตอนการทำงานออกมาให้เห็นภาพทั้งหมดว่า งานเราเกี่ยวข้องกับใครบ้าง ทั้งภายในและภายนอกองค์กร  ศึกษาแต่ละขั้นตอนให้ละเอียดว่า “ทำอย่างไร” ใช้เวลาเท่าไหร่” “มีเอกสาร หรือประกาศ ระเบียบอะไรบ้างที่เกี่ยวข้อง” ที่สำคัญ ขั้นตอนไหนมี “เดทไลน์” หรือ “จุดที่ควรระวัง” อะไรบ้าง จะทำให้เราจัดสรรความเอาใจใส่ได้ถูก ว่าอะไรควรเข้มงวดหรือควรผ่อนปรน 

  2. รู้ว่าพัฒนางานอย่างไร ในความเป็นจริงทุกสิ่งรอบตัวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ฉะนั้นเราจึงควรหาวิธีปรับปรุงงานทุก ๆ วัน

      มีหรือไม่? งานบางงานไม่ควรทำแต่ต้น

                   กระบวนการหรือขั้นตอนบางขั้นตอนไม่มีคุณค่า

                   เอกสารหรือแบบฟอร์มที่เลิกทำก็ไม่เสียหายอะไร

    การตั้งคำถาม “เลิก ลด เปลี่ยน” กับปัญหาหรืองานนั้นสำคัญยิ่ง


การทำไคเซ็นนั้นให้ทำแบบค่อยเป็นค่อยไปแบบต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องคิดปรับปรุงเรื่องใหญ่ ๆ แบ่งออกเป็น 3 step คือ

1. ป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิด (Proof) คือ แก้ปัญหาให้หมดสิ้น หรือการทำให้เป็นเลิศ

2. ทำให้ปัญหาเกิดขึ้นได้ยาก หรือลดปัญหาให้เหลือน้อยที่สุด (Relieve)

3. แม้จะเกิดปัญหา แต่ผลกระทบจะน้อย (Save) หรือหากเกิดปัญหาก็ขอให้พบเจอได้ง่าย


หลายคนเข้าใจถูกต้องแล้วว่า ไคเซ็น คือการปรับปรุงงานของตนเอง แต่อย่าลืมงานที่เกี่ยวข้องกับเราด้วย ว่าเมื่อเราปรับปรุงงานของเราแล้ว ผลการไคเซ็นไปกระทบกับงานใครบ้าง เป็นไปได้มากทีเดียวที่เมื่อปรับปรุง “งานเราดีขึ้น” แต่ทำให้งานโดยรวม “แย่ลง” อย่างนี้ก็ไม่ไหวเหมือนกัน ฉะนั้นหากงานเกี่ยวข้องกันก็ควรจะร่วมมือกันแก้ปัญหาเป็นทีม

ความคิดเห็น