วิถีแห่งศรัทธาจากศิลปทัศน์ญี่ปุ่น

banner20171220_01

      ในโอกาสครบ 130 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตอย่างเป็นทางการระหว่างราชอาณาจักรไทย และประเทศญี่ปุ่น ในพุทธศักราช 2560 ราชอาณาจักรไทยโดยกรมศิลปากร กระทรวงศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม ร่วมกับประเทศญี่ปุ่น ได้มีการแลกเปลี่ยนโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุซึ่งกันและกัน โดยไทยให้ยืมโบราณวัตถุไปจัดแสดง ซึ่งประเทศญี่ปุ่นให้ยืมโบราณวัตถุมาจัดนิทรรศการเพื่อเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันระหว่างประชาชนของทั้ง 2 ประเทศ

DSCF1021 DSCF1026 DSCF1027

ปฐมบทศิลปะญี่ปุ่น

     การศึกษาแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ มำให้ทราบว่า ก่อนพระพุทธศาสนาเผยแผ่มายังดินแดนญี่ปุ่น มีผู้คน 3 กลุ่ม ที่มีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตเป็นของตัวเอง ประกอบด้วยวัฒนธรรมโจมน ยาโยอิ แลพโคฝุน วัฒนธรรมของบรรพชนเหล่านี้เป็นปฐมบทหรือรากเหง้าของสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น

Note - เปิดมาห้องแรก คนที่เสพการ์ตูน หรือนิยายญี่ปุ่นจะต้องกรี๊ด เพราะเราได้เห็นสิ่งที่บรรดานิยายอ้างถึงแบบแบบของจริงที่จับต้องได้ ชิ้นเด่น ๆ ที่เห็นแล้วต้องจำได้ ก็ได้แก่ ตุ๊กตาโบราณ ที่มีบทความบอกว่าเป็นเซ็กทอยยุคแรกเริ่ม เวลาปรากฏมาในเรื่องมักจะพลังงานบางอย่างอยู่ในนั้น หรือกระจกสำริดที่เราเคยเห็นในละครน้องกวางกู้โลกแห่งเมืองนาราที่ทามากิเคยแสดง และสุดท้ายที่เนื้อหอมที่สุด เรื่องไหนมี back ground ในยุคโบราณต้องมา คือ มากาทามะ หรือ แปลแบบสมบูรณ์ว่าลูกปัดจุลภาค ของจริงดูท่าจะหนัก

DSCF1034 DSCF1121 DSCF1042

พุทธศิลป์วิวัฒน์

    ในรัชสมัยพนะจักรพรรดิคินเมแห่งญี่ปุ่น ประมาณกลางพุทธสตวรรษที่ 11 กษัตริย์แห่งอาณาจักรแพกเจบนคาบสมุทรเกาหลี ได้พระราชทานพระพุทธรูปสำริด พระบฏ และคัมภีร์พระพุทธศาสตร์ให้ประเทศญี่ปุ่น

    สมัยนาระ ประชาชนเชื่อกันว่า พระพุทธศาสตร์เสมือนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ปกป้องคุ้มครองประเทศ พระจักรพรรดิจึงโปรดฯ ให้สร้างรูปพระมหาไวโรจนะพระพุทธเจ้าขนาดใหญ่ขึ้นที่วัดโทไดจิ กลางเมืองนาระ  สมัยเฮอัน พระพุทธศาสตร์นิกายเท็นได และนิกายชินกงหรือวัชรยานจากจีน เป็นที่เคารพเลื่อมใสในหมู่ขุนนางและชนชั้นสูง จนถึงสมัยคามากุระ พระพุทธศาสนาได้แตกออกไปหลายลัทธิ

Note - ห้องนี้เป็นพระพุทธรูปซึ่งส่วนใหญ่ทางฝั่งญี่ปุ่นจะนิยมแกะสลักพระองค์ใหญ่ ๆ จากไม้ไม่เหมือนบ้านเราที่ทำทางโลหะมีค่า เห็นแล้วนึกถึงเรื่องอิกคิวซัง เณรน้อยเจ้าปัญญา ซึ่งเรื่องราวดำเนินอยู่ในวัดกับวังเลยได้เห็นวัตถุโบราณพวกนี้ผ่านตาบ่อย ๆ ส่วนพวกเครื่องทองเหลืองอย่างวัชระ คิดถึงคุณพี่พระเขาโคยะจากเรื่อง Ghost hunt เลย ห้องนี้ชอบพระองค์กลางที่นั่งชันเข่า ตอนเดินดูรู้สึกเหมือนตาของพระท่านมองตามเราได้ด้วย ฝีมือการแกะสลักก็งดงามมาก ๆ

    DSCF1077 DSCF1074 DSCF1071

นฤมิตศิลป์แห่งราชสำนัก
  หมวดนี้จะว่าด้วยข้าวของเครื่องใช้ของฆารวาส ภาพจิตกรรม บทกวี กลอน  เสื้อผ้าของสตรี ขุนนาง อาวุธ และเครื่องแต่งกายของทหาร

Note – กิโมโนส่วนใหญ่ที่มาจัดแสดงปักลวดลายละเอียดมาก ไม่แปลกใจที่เวลาใส่ทับกันหลาย ๆ ชั้นมันจะหนักหลายสิบกิโลกรัมจนเดินแทบไม่ไหว หน้ากากละครโนก็หลอนได้ใจเห็นแล้วนึกถึงการ์ตูน กับละครสมัยก่อนที่ชื่อเรื่องคู่หู คู่ฮา ที่เวลามีหน้ากากแนว ๆ นี้โผล่มาเป็นต้องได้วิ่งหนีผีกันตลอด ปิดท้ายด้วยดาบคาตะนาของจริง ใบดาบสวยมาก ๆ สะท้อนแสงเหมือนจันทร์เสี้ยง อัศจรรย์ใจมากว่าช่างตีดาบเขาทำได้ยังไง ทำไมถึงตีดาบออกมาได้สวยขนาดนี้ ว่าแล้วนึกอยากเห็นปู่มิคาสึกิ ว่าของจริงจะงามขนาดไหน

 

DSCF1085 DSCF1087 DSCF1091 

นิกายเซนกับพิธีชงชา

   พิธีชงชาญี่ปุ่น เป็นที่นิยมแพร่หลายในหมู่ชนชั้นสูง ขุนนาง และนักรบ รวมทั้งตามวัดต่าง ๆ ในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน นิกายเซน ซึ่งได้รับการถ่ายทอดมาจากพระสงฆ์ และพ่อค้าชาวจีนสมัยราชวงศ์ซ่งตั้งแต่สมัยเฮอันจนถึงสมัยคามาคุระประมาณ 1,000 ปีที่แล้ว

DSCF1095 DSCF1102 DSCF1109

พลวัตรวัฒนธรรมเอโดะ

   ผู้เป็นพลังขับเคลื่อนให้วัฒนธรรมเอโดะ มีความหลากหลายยิ่งขึ้น คือ ชาวเมืองสามัญชนที่มีฐานะทางสังคมและเศรษฐกิจมั่นคงและมั่งคั่ง

ความคิดเห็น