กลางใจราษฎร์

DSCF0999

 

ชื่อหนังสือ กลางใจราษฎร์
เขียน คริส เบเคอร์
เดวิด สตรีคฟัส
พอพันธ์ อุยยานนท์
จูเลียน เกียริง
พอล วีเดล
ริชาร์ด เออห์ลิค
โรเบิร์ต ฮอร์น
โจ คัมมิงส์
โรเบิร์ต วู้ดโรว์
แปล มนันยา
จงจิต อรรถยุกติ
พรรษพร ชโลธร
จำนวนหน้า 461
สำนักพิมพ์ เอเซียบุ๊คส์

 

     พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดช หกทรรศวรรษแห่งการทรงงาน ประกอบด้วย

บทนำ ซึ่งเล่าถึง ประวัติศาสตร์ของพระมหากษัตริย์ไทย

ภาคที่ 1 พระราชประวัติ ซึ่งขะแบ่งเป็นช่วง ช่วงละ 10 ปี ประกอบด้วย เรื่องรักของเจ้าฟ้า ไม่ใช่เทพนิยาย, โลกที่ต่างกันเป็นอันมาก, ช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง, สู่เวทีโลก, ล้นเกล้าชาวไทย, ราตรีสวัสดิ์และอรุณสวัสดิ์, ธ ธำรงไว้ซึ่งจริยธรรม และ คำถามและคำตอบ

ภาคที่ 2 พระราชกรณียกิจ แบ่งเป็นการสาธารณสุขมูลฐาน, การเรียนรู้ตลอดชีวิต, ในหลวงของทุกภาค และได้มากแม้มีน้อย

ภาคที่ 3 สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งประกอบด้วย ทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ, คณะองคมนตรี, การสืบราชสันตติวงศ์ และพระราชพิธีและเครื่องราชกกุธภัณฑ์

 

บันทึก…คนอ่าน

     เมื่อ 1 ปีที่แล้ว หลังจากเหตุการณ์ที่เศร้าที่สุดของคนไทย ในตอนนั้นเราพยายามเก็บหนังสือทุกเล่มที่เกี่ยวกับพระองค์ท่าน และเล่มนี้ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่ด้วยอะไรหลาย ๆ อย่างทำให้เราอ่านหนังสือเหล่านั้นด้วยความเร็วที่ช้าเหลือเกิน โดยหนังสือเล่มนี้เราตั้งใจจะอ่านให้จบก่อนพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ในวันที่ 26 ตุลาคม 2560 แต่ก็ไม่ทัน

       ในส่วนภาค 1 ที่เกี่ยวกับพระราชประวัติ เราชอบอ่านในช่วงปี 2470 ซึ่งเริ่มเล่าถึงสมเด็จพระราชบิดา สมเด็จย่าทรง จนถึงเหตุการณ์ตอนที่รัชกาลที่ 8 สวรรคต บรรยากาศเหมือนตอนอ่านเรื่อง เจ้านายน้อย ๆ ยุวกษัตริย์ รู้สึกถึงความอบอุ่นของครอบครัว ช่วงหลางจนถึงปี 2518 ก็อ่านเพลินค่ะ เพราะเล่าถึงตอนเสด็จเยือนต่างประเทศ ครอบครัว และงานอดิเรกของพระองค์ แต่หลังจากนั้นซึ่งเป็นช่วงปี2531 เล่าโดยอ้างอิงควบคู่ไปกับการเมืองตามนายกแต่ละคนที่เปลี่ยนกันเข้ามาบริหารประเทศ ซึ่งส่วนนี้อ่านไม่สนุกเท่าสองส่วนแรกแต่ก็เป็นเหมือนเครื่องเตือนความทรงจำ ตอนสมัยพลเอกเปรมเป็นนายกเรายังเด็กมาก จำรายละเอียดไม่ได้แต่ก็จำได้แหละว่าคนนี้เป็นนายก ตามประสาเด็กน้อยสมัยก่อนที่ต้องทนนั่งดูข่าวช่อง 7 แต่ที่จำได้แม่นจนถึงทุกวันนี้ก็ตอนเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และการที่ท่านจะมีพระดำรัสตอบผู้เข้าเฝ้าถวายพระพรเนื่องในโอกาสเข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคลเนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษา เรากลับจากโรงเรียนมาดูกับแม่ที่บ้านทุกปีเลยค่ะ แสตนเชียร์ตอนเราอยู่  ม.6 ก็วาดเป็นรูปพระมหาชนก งานพระราชพิธีต่าง ๆ ซึ่งเป็นความทรงจำอันสวยงาม รวมถึงรูปตอนมาร์ค เวบเบอร์ นักแข่งรถเข้าเฝ้าที่ทำให้เราเจ็บใจทุกครั้ง วันนั้นเราเดินผ่านรถ F1 ที่มาจอดให้ทรงทอดพระเนตร แต่วันนั้้นเราไม่ได้อยู่รอ

     ในภาคสองที่กล่าวภึงพระราชกรณียกิจนั้น สรุปได้ครอบคลุมดีค่ะ แต่สำหรับเราซึ่งเติบโตมาในแผ่นดินของพระองค์  จะได้เปรียบเพราะเราซึมซาบภาคข่าวในพระราชสำนักที่เห็นทุกวันมาตลอด 34 ปี ยิ่งตอนเรียนปริญญารตรีเราเคยได้ไปฝึกงานในสวนจิตรฯ ยิ่งซาบซึ้ง ศูนย์ศึกษาการพัฒนาก็เคยไปมาหลายที่

     ส่วนที่สามที่มีความยาวถึง 130 หน้านี่แหละค่ะ ที่เราว่าเป็นส่วนสำคัญในการทำความเข้าใจกลไกที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เราอ่านดูก็เห็นว่าบรรยายได้ตรงไปตรงมาดีค่ะ

     สรุป เราขออนุญาตอ้างอิงข้อความส่วนหนึ่งจากคำแปลจากคำนิยมฉบับภาษาอังกฤษ ของท่านอานันท์ ปันยารชุน ประธานคณะที่ปรึกษาของคณะบรรณาธิการ “เมื่อผู้อ่านได้อ่านบทความในหนังสือเล่มนี้แล้วจะได้เข้าใจประเทศไทยและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชดีขึ้น และเห็นภาพที่ชัดเจนของการทรงงานทั้งพระชนม์ชีพ เพื่อรักษาคำมั่นสัญญาที่ทรงให้ไว้กับประชาชนของพระองค์” ซึ่งในความเห็นของเรา หนังสือเล่มนี้ทำหน้าที่ได้ตามวัตถุประสงค์ดังกล่าวได้เป็นอย่างดี คำบรรยายจะค่อนข้างตรงไปตรงมา ความรู้สึกจะต่างจากหนังสือที่เขียนโดยผู้เคยถวายงาน ซึ่งทำให้เราเข้าใจว่าทำไมฉบับพิมพ์แรกจึงตั้งใจที่จะทำเป็นภาษาอังกฤษ ก็คงเพื่อให้ชาวต่างชาติได้เข้าใจ อีกหน่อยเด็ก ๆ รุ่นต่อไป ก็คงไม่ต่างกัน ที่ต้องศึกษาเพื่อเข้าใจ ก่อนที่จะเข้าถึงในการศึกษาจากสื่ออื่น ๆ หรือคำบอกเล่าจากคนที่เกิดทัน ว่าทำไมคนไทยถึงจงรัก และภักดีต่อในหลวงรัชกาลที่ 9 เหลือเกิน

ความคิดเห็น