รอยดุริยางค์ เดอะมิวสิคัล

poster

plot
     อีกหนึ่งหน้าประวัติศาสตร์ที่คนไทยอาจไม่เคยรู้
     เมื่อวง super sun ได้รับคัดเลือกให้เข้ารอบในการประกวดดวนตรี “ไม้” หรือที่เจ้าตัวชอบให้เพื่อนเรียกว่า “ไมค์” หนึ่งในสมาชิกวงเสนอให้เพื่อนมาใช้มาใช้เรือนหลังเก่าของปู่ทวดซึ่งเคยเป็นที่ซ้อมดนตรีไทยมาก่อนเป็นสถานที่ซ้อม
     ไม้ย้อนเวลากลับไปในอดีตเมื่อ  130  ปีก่อน ซึ่งตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 และได้พบกับ เชิด ปู่ทวดของตนในวัย 25  ปี ผู้เป็นมือระนาดเอกแห่งยุค ตอนแรก เชิดคิดว่า ไม้ เป็นลูกหลานชาวต่างชาติที่หลงทางมา จึงไม่ยินดีต้อนรับเด็กหนุ่ม และไล่ ไม้ ออกจากบ้าน แต่เมื่อพบว่าไม้ไม่มีที่ไปก็อนุญาตให้ชายหนุ่มมาอยู่ที่บ้าน ซึ่งไม้ที่ย้อนเวลากลับไปกลับมาได้มีโอกาสพบเห็นประสบการณ์ต่างๆ เกี่ยวกับดนตรีไทย และมองเห็นความสำคัญของดนตรีไทย จึงพยายามเอามาใส่ไว้ในดนตรีสมัยใหม่ของวง และพยายามยับยั้งไม่ให้แม่เปลี่ยนบ้านริมน้ำของปู่ทวดเป็นโรงแรม แต่สุดท้ายถึงแม้ไม้จะไม่สามารถทานกระแสของการเปลี่ยนแปลงได้ แต่อย่างน้อยคนรุ่นใหม่อย่างไม้ก็ได้รู้ถึงความสำคัญของดนตรีไทย
     ละครเวทีที่ได้แรงบันดาลใจจาก ๑๙ ศิลปินไทยยุคบุกเบิก ผู้บรรเลงมโหรีต่อหน้าพระที่นั่งสมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียที่ประเทศอังกฤษเป็นครั้งแรก
log
WP_20150823_001
          สำหรับละครเวทีเรื่องนี้ เห็นตัวละครทีแรกไม่ได้ดึงดูดความสนใจของเราเท่าไหร่ มาตบะแตกซื้อตั๋วบนยอดหอคอยไปดูกับเขาก็เพราะ MV เพลง ลาวดวงเดือนที่เอามาโปรโมท บวกกับไม่ได้ติดดาราคนไหนขนาดต้องไปนั่งส่องหน้าให้เป็นพิเศษ กะว่าราคาขนาดนี้ไปนั่งฟังเพลงก็คุ้มแล้ว แต่ตอนไปถึงที่นั่งจริงชักไม่แน่ใจ ครั้งแรกกับชั้น 3 ของศูนย์วัฒนธรรมมันสูงจนเล่นเอาขาสั่น ครั้งนี้คงเป็นครั้งแรกและครั้งเดียวที่นั่งสูงขนาดนี้
ว่าด้วยการดำเนินเรื่อง และบท…
     แก่นของเรื่องนี้ที่กล่าวถึงคณะดนตรีไทยที่ได้แสดงหน้าพระพักตร์สมเด็จพระราชินีวิคตอเรีย และทำให้พระองค์ซึ่งอยู่ในช่วงไว้ทุกข์แย้มพระสรวลออกมาได้ ถือว่าเป็นการเลือกประเด็นที่น่าสนใจ
     เปิดเรื่องมาตอนแรกเป็นฉากคอนเสิร์ตเลยค่ะ ใช้เพลงแสงสุดท้ายของ body slam คนดูก็มันกันไป หลังจากนั้นเมื่อเรื่องดำเนินต่อไปท่ามกลางความอลังการ แต่ต่อม เอ๊ะ ของเราดันทำงานตั้งแต่ต้นเรื่อง เมื่อนั้นโหมดใช้สมองมากกว่าความรู้สึกทำงานทันที จนเราไม่ค่อยไม่คล้อยตามอย่างที่ควรจะเป็นในหลายฉาก อย่าง
- มุกเกินๆ ของพระเอก อย่าทักคนในอดีตที่ไปหน้าเหมือนกับในปัจจุบันใช้บ่อยไปหน่อยจนเฝือ คือช่วงเปลี่ยนรุ่นหลังจากย้อนเวลาหลายครั้งก็พอโอเค แต่ในการย้อนเวลาครั้งเดียวกันมันไม่ควร คือ ไม้ควรจะแยกแยะได้ตั้งแต่ทักบริวารของคุณเชิดแล้วว่า คนพวกนี้แค่คนหน้าเหมือน
- มุกทะเล่อทะล่าของไม้ ต่อหน้าที่ประทับของเสด็จมันดูไม่มีสัมมาคาระวะเกินไป คนสมัยนั้นยังถือเรื่องนี้อยู่มาก ธรรมดาแล้วถ้าผิดกาละเทศะขนาดนั้นน่าจะโดนตักเตือนแรงๆ เป็นโทษสถานเบา หรืออย่างหนักก็โดนหวายขนาบหลังกันบ้าง ไม่ใช่แต่ห้ามๆ แล้วเดินออกมาเฉยๆ
- องค์แรกเราว่ายังปูความผูกพันของปู่กับหลานไม่มากเท่าที่ควร ฉากที่ควรจะเรียกน้ำตาได้ในองค์หลังเลยทำงานได้ไม่เต็มที่ คือมีซึ่งอยู่ฉากเดียวคือตอนเชิดจับมือหลานชายสอนระนาด
- อันที่จริงฉากรับเสด็จรัชกาลที่ 5  เป็นฉากใหญ่ที่ทำได้ดีสามารถเรียกความซึ้งจากการตะโกนคำว่า ทรงพระเจริญ ของไม้ซึ่งไม่ใช่ธรรมเนียมในสมัยนั้น ซึ่งทำให้ครูเชิดและคนอื่นๆ ที่มารับเสด็จเปล่งเสียงตามไปด้วย แต่ในขณะเดียวกัน อารมณ์ที่เอ่อท้นออกมามากมายจากฉากนี้ ทำให้ประเด็น ดนตรีไทย ของเรื่ององค์ที่ 1 อ่อนลงไป
- ตอนขึ้นคุณเชิดขึ้นมาที่ท่าน้ำเพื่อจีบคุณดวงเดือน ไปสะดุดกับบทแปลกๆ ซึ่งก็คือ การแสดงออกของคุณหลวงมันดูดขัดๆ กับปูมหลังด้านบุคลิกที่ปูมาตอนต้นเรื่อง
      ในส่วนของตอนจบเราถือว่าลงตัว ไม่โลกสวยจนเกินไป เมื่อไม้ที่พยายามจะรื้อฟื้นดนตรีไทยไปกับวงไม่ได้จนต้องออก ในขณะเดียวกันบ้านริมน้ำก็ต้องเปลี่ยนเป็นโรงแรม แต่เพื่อการอนุรักษ์ก็มีการผสมผสานดนตรีไทยในบรรยากาศ จะว่าไปก็พานนึกถึงฉากเปียโนในเรื่อง โหมโรง 
ว่าด้วยเครื่องประกอบฉาก และเทคนิคพิเศษ…
558000009939409    สำหรับคนที่ดูละครเวทีมาพอสมควรฉากตรงนี้ก็ถือว่าได้ตามมาตรฐาน ส่วนที่ดึงความสนใจของเราได้จริงๆ กราฟฟิกรูปวาดสายเส้นรูปรัชกาลที่ 5 ตอนเปิดเรื่อง(น้ำตาซึมตั้งกะฉากเปิด)  กับเทคนิคการดึงความสนใจเมื่อตัดเข้าฉากที่เป็นสถานที่สำคัญในอดีตอย่างวังสราญรมย์ หรือคลองด้วยการเปลี่ยนจากภาพขาวดำเป็นสี ซึ่งทำออกมาได้สวยมาก เหมือนมองภาพถ่ายเก่าที่ค่อยๆกลับมามีชีวิต แต่ที่สำคัญคือความกล้าในการนำเสนอฉากใหญ่ที่เกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างตอนรับเสด็จรัชการที่ 5 และฉากการแสดงดนตรีไทยในท้องพระโรงของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย

favorite scene
C__Data_Users_DefApps_AppData_INTERNETEXPLORER_Temp_Saved Images_1440048794-CMO5715-o ฉากพายเรือไปบ้านแม่ดวงเดือน
     สิ่งที่ทำให้ชอบฉากนี้ และรอดูตั้งแต่ได้เห็นตัวอย่าง นอกจากความสวยงามของทิวทัศน์คูคลองใต้แสงจันทร์วันเพ็ญแล้ว คือ วลีเด็ด “เพราะเรามีลมหายใจเดียวกัน” ที่ เชิดพูดให้ไมค์ฟัง หลังจากได้ยินการบรรเลงดนตรีของนักเลงดนตรีที่ดังออกมาจากบ้านสองฝั่งคลองที่ดูเหมือนต่างคนต่างเล่น แต่สอดประสานกันออกมาได้อย่างลงตัว

ความคิดเห็น