ARRC 2019 Day1 - ปราสาทหินพนมรุ้ง - ปราสาทเมืองต่ำ - วัดเขาพระอังคาร - วนอุทยานเขากระโดง

 

    หลังจากปวารณาตัวเป็นแม่อี้ป๋อ และอยากเจอน้องมาก ๆ อยากเห็นน้องในมุมต่าง ๆ รวมถึงตอนแข่งรถ แต่ยังประสบการณ์ยังไม่แก่กล้าพอที่จะไปดูถึงสนามจู่ไห่ เราก็เริ่มจากรายการเดียวกันแต่เป็นสนามที่จัดในประเทศไทยก่อน และนี่ถือเป็นการซื้อตั๋วเพื่อไปดูการแข่งรถจริงจังเป็นรายการแรกในชีวิต แถมยังรีบไปจองตั๋วตั้งแต่วันแรกที่เปิดขาย 
    เนื่องจากมีประสบการณ์กับบุรีรัมย์มาแล้วครั้งนึงตอนไปดูแข่ง MotoGP แต่คราวนั้นอยู่แต่สนามแข่ง คราวนี้เลยจัด 1 วันเต็ม ๆ สำหรับการท่องเที่ยวปีนปราสาทกินพนมรุ้ง รวมถึงปราสาทหินอื่น ๆ ซึ่งเป็นของดีประจำจังหวัดบุรีรัมย์ สำหรับการเดินทางคราวนี้ขอแบบสบายหน่อยด้วยการเช่ารถพร้อมคนขับ เพราะอย่างที่รู้กันดีกับการไปเที่ยวต่างจังหวัดว่าการจนส่งสาธารณะไม่หลากหลายเหมือนในเมือง การเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีดจุดหนึ่งด้วยรถสาธารณะอาจจะต้องแลกมาด้วยเวลาอันมีค่า และแรงกายที่เราควรเอาไปใช้เที่ยวมากกว่า 

    เราออกเดินทางด้วยรถทัวร์นครชัยแอร์เที่ยวเที่ยงคืนวันพฤหัสบดี เพื่อที่จะได้ไปเช้าที่บุรีรัมย์พอดี โดยคราสนี้เปลี่ยนจุดลงเป็นหน้าโรงพยายาบาลบุรีรัมภ์ เนื่องจากประเมินว่าน่าจะเป็นบริเวณที่มีคนเข้าออกตลอด น่าจะพอมีที่หาของกินรวมถึงจุดล้างหน้าแปรงฟันได้ แต่ผิดคาดเลยค่ะ โชคดีที่มีปั๊มน้ำมันอยู่ในระยะที่เดินถึง เลยได้แวะไปล้างหน้าแปรงฟันกับหาของกิน หาข้าวเช้ากินกับนั่งเล่นที่ม้านั่งหน้า 7 ที่ปั๊มจนประมาณ 7 โมง ก็เดินไปรอรถเช่าที่นัดไว้หน้าโรงพยาบาล รถมาถึงเอาสัมภาระเก็บที่ท้ายรถก็เดินทางไปจุดหมายแรกกันเลย

อุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้ง

    ปราสาทพนมรุ้งเป็นโบราณสถานที่ตั้งอยู่บนยอดเขาพนมรุ้ง  ในเขตอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์  สร้างขึ้นโดยมีรูปแบบของศิลปะเขมรโบราณ ปราสาทแห่งนี้ สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวาลัยที่ประทับของพระศิวะพระองค์ที่ประทับอยู่บนยอดเขาไกรลาส GenY อย่างเราจะคุ้นเคยกับชื่อของปราสาทนี้จากการทวงคืนทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ที่ถูกมือดีขโมยไป โผล่อีกทีก็ถูกนำไปจัดแสดงอยู่ที่สถาบันศิลปะชิคาโก ในรัฐอิลลินอยส์ของสหรัฐ และนำกลับมาคืนได้สำเร็จเมื่อปี 2531ยังมีเพลงดังที่แต่งขึ้นโดยใช้เหตุการณ์นั้นเป็นธีม "เอาไมเคิลเจ็คสันคืนไป เอาพระนารายณ์คืนมา" คราวนี้เราจะได้มาเห็นของจริงกันเสียที

  
    
    หลังจากตีตั๋วควบ 2 ปราสาทเขาพนมรุ้ง + ปราสาทหินเมืองต่ำในราคาน่ารัก 30 บาทสำหรับผู้มาเยือนสัญชาติไทย(150 บาท สำหรับผู้มาเยือนชาวต่างชาติ) 
    - เขตของเทวาลัยเริ่มจากทางดำเนินที่ขนาบด้วยเสานางเรียง ลักษณะคล้ายดอกบัวตูม ซึ่งสือถึงการถวายอัคคีบูชาแด่องค์เทพเจ้าเทวาลัย ซึ่งในที่นี้คือพระศิวะ
    - สะพานนาคราช 5 เศียร เป็นสัญลักษณ์ของสายรุ้งที่สื่อถึงทางดำเนินของเทพเจ้าบนสวรรค์ 
ถือเป็นขั้นแรกกับสิ่งที่ต้องฝ่าฟันไปยาว ๆ นั่นคือ บันไดหิน มองจากด้านบนสูงเหมือนกัน ค่อย ๆ ไต่กันไป เหนื่อยตรงไหนก็หยุดถ่ายรูปเป็นพัก ๆ  และที่สำคัญมันไม่มีราวจับนะครับ สำหรับเราตอนขึ้นไม่ใช่ปัญหา เมื่อหลายปีก่อนตอนไปนครวัตสิ่งที่สังเกตเห็นได้คือมีการสลักหินในส่วนที่เป็นโครงสร้างต่าง ๆ ขนาดผ่านกาลเวลามาเป็นพันปี ลาดลายที่หลงเหลืออยู่ยังเห็นถึงรายละเอียดที่ประณีตมาก ซึ่งปราสาทหินแห่งนี้ก็เป็นศิลปะขอมแบบนครวัดเช่นกัน 
    

    หน้าประตูกลางของระเบียงคด ก่อนเข้าสู่ลานชั้นในของปราสาท ด้านข้างทั้ง 4 มุมเป็นสระน้ำรูปสี่เหลี่ยม เห็นว่าแต่เดิมไม่ได้เป็นสระน้ำ เป็นการเอามาเติมภายหลัง และสิ่งที่ขาดไม่ได้คือต้องปลูกบัว ซึ่งมันก็ช่างเข้ากับบรรยากาศจริง ๆ หน้าบันเป็นภาพพระศิวะในภาคมหาโยคีที่เป็นผู้รักษาโรคภัยไข้เจ็บ และอาจรวมหมายถึง นเรนทราทิตย์ ผู้ก่อสร้างปราสาทประธานแห่งนี้ด้วย ส่วนด้านล่างเป็นพระอินทร์ผู้รักษาทิศตะวันออกนั่งอยู่บนหน้ากาล

  

     เดินลอดโคปุระก็จะเจอบันไดนาคเล็ก ๆ ทอดสู่ปราสาทประธานที่ประดิษฐาน ศิวลึงค์ สัญลักษณ์ของพระศิวะ ตรงหน้าบันเป็นรูปพระศิวะนาฎราช ตามความเชื่อปีไหนท่านรำผิดจังหวะจะเกิดภัยพิบัติ ทับหลังด้านล่างคือทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ท่านบรรทมบนพยานาคราชซึ่งอยู่บนมกร ซึ่งตรงสะดือของท่านเป็นดอกบัวที่บานขึ้นไปรองรับพระพรหม เสาประดับกรอบประตูเป็นลายก้านขดรูปหงส์ที่เป็นตัวแทนของสวรรค์ ที่ตรงโคนเสาเป็นรูปพิธีบูรณธัญกา ซึ่งน่าจะเป็นพิธีนำธัญพืชมาบวงสรวง
-  ปราสาทหลักแบ่งออกเป็น 3 ช่วง 1. มณฑป ห้องหน้า 2. มุขกระสัน ทางเชื่อมที่มีหลังคาคลุม และ 3 ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน ศิวลึงค์ เรียกว่า ครรภคฤห์
-  ทวารบาล ผู้รักษาวิมานของพระศิวะ ทำหน้าที่รักษาไม่ให้สิ่งชั่วร้ายเข้าไปเทวสถาน ทิศละ 2 ตน 
    สำหรับปราสาทหินแห่งนี้จะมีปรากฏการที่พระอาทิตย์ขึ้นตรงกับทั้ง 15 ช่องประตูในช่วง 3-5 เม.ย. และ 8-10 ก.ย.  และตกตรงกับทั้ง 15 ช่องประตู 5-7 มี.ค. และ 5-7 ต.ค. ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของช่างสมัยโบราณ  
สำหรับคนที่อยากได้ความรู้เพิ่มเติมถึงความหมายที่ซ่อนอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของตัวปราสาท และได้เห็นภาพมุมสวย ๆ แบบ Bird Eye view แนะนำรายการ เปิดตำนานกับเผ่าทอง ท่านเล่าได้ละเอียดมาก เหมาะสำหรับคนไปกันเองแบบไม่มีไกด์  
ตอนที่ 1 Part 1 / Part 2 / Part 3 / Part 4 
ตอนที่ 2 Part 1 / Part 2 / Part 3 / Part 4

ปราสาทเมืองต่ำ
   

     ปราสาทนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบ ด้านหน้าสุดเป็นซุ้มโคปุระ ขนาบด้วยกำแพงศิลาแลง ทับหลังด้านหน้าเป็นรูปพระกฤษณะปราบนาคกาลียะ ทับหลังชั้นในเป็นรูปพระอินทร์ในวิมาน    

  

  -  ภายในกำแพงล้อมรอบเป็นสระน้ำรูปตัวL ที่มุมของสระมีพญานาคศีรษะโล้น ภายในทำเป็นขั้นบันได มีซุ้มประตูลงไป
  - โคปุระชั้นใน หน้าบันเป็นรูปพระอินทร์เทพเจ้าประจำทิศตะวันออก ประทับอยู่บ้านหน้ากาล ส่วนทับหลังเป็นรูปหน้ากาลคายท่อนพวงมาลัย 
 
   

        - ปราสาทชั้นใน ประกอบปราง 5 องค์ ปรางด้านทิศใต่เป็นรูปเทพนั่งบนหน้ากาล ทับหลังด้านหน้าอีกฝั่งเป็นรูปพระอุมามเหศวร 
สำหรับคนที่อยากได้ความรู้เพิ่มเติมถึงความหมายที่ซ่อนอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของตัวปราสาท และได้เห็นภาพมุมสวย ๆ แบบ Bird Eye view แนะนำรายการ เปิดตำนานกับเผ่าทอง ท่านเล่าได้ละเอียดมาก เหมาะสำหรับคนไปกันเองแบบไม่มีไกด์  
ตอนที่ 1 Part 1 / Part 2 / Part 3 / Part 4 

วัดเขาพระอังคาร

  

    วัดเขาพระอังคาร ตั้งอยู่ตรงบริเวณปากปล่องภูเขาไฟที่ดับแล้ว หากมองจากที่สูงจะมองเห็นเป็นรูปพญาครุฑที่กำลังกระพือปีกหรือคว่ำหน้าหันหัวไปทางทิศใต้
    - ด้านหน้าเป็นพระพุทธรูปปางไสยาสน์ ขนาดใหญ่
    - บริเวณรอบๆ อุโบสถมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยจำนวน 108 องค์ ตั้งเรียงรายล้อมรอบอุโบสถไว้ อีกทั้งยังมีใบเสมาหินทรายสลักภาพบุคคล สถูป ดอกบัว และธรรมจักรสมัยทวารวดี 8 คู่ ตั้งไว้รอบๆ โบสถ์ 
    
  
    - ภายใน พ.ศ.8 มีการนำพระอังคารธาตุ (เถ้ากระดูก) ของพระพุทธเจ้ามาประดิษฐานที่เขาลูกนี้ จนถึง พ.ศ. 2520 พระอาจารย์ปัญญา วุฒิโธ จึงได้มาสร้างวัดบนยอดเขา และนำพระอังคารธาตุขึ้นบรรจุในสถูปบนยอดของอุโบสถที่สร้างขึ้น
    - วิหารหลังหนึ่งด้านข้างพระอุโบสถประดิษฐานพระคันธารราษฎร์และรอยพระพุทธบาทจำลอง

วนอุทยานเขากระโดง

  

     พระสุภัทรบพิตร พระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่ประดิษฐานอยู่บนยอดเขากระโดง โดยภายในเศียรขององค์พระพุทธรูปเป็นที่บรรจุพระธาตุค่ะ ซึ่งการที่จะขึ้นไปด้านบนนั้นจะต้องผ่าน สะพานพิสูจน์ศรัทธาสาธุชน และ บันไดนาคราช  297 ขั้นเพื่อขึ้นไปถึงยอดเขา ส่วนเราใช้วิธีขับรถขึ้นไปถึงบนยอดเขาเพื่อไหว้พระก่อน แล้วค่อยเดินลงมาดูภูเขาไฟเขากระโดง เราสามารถมองเห็นท่านได้จากด้านล่าง ตอนมาคราวที่แล้วเห็นจากตอนนั่งรถหลายครั้ง คราวนี้เลยถือโอกาสขึ้นมาสักการะ

ความคิดเห็น